“คนเก่ง สร้างได้ : อารยโมเดลสมรรถนะ KSL31220”

การบรรยายพิเศษ
เรื่อง "คนเก่ง สร้างได้ : อารยโมเดลสมรรถนะ KSL31220"
โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสมัชชาสยามอารยะ

คนดีต้องตัดสินใจ คนเก่งสร้างได้
ถ้าดี-เก่ง อยู่ในคนใดคนหนึ่งแต่ไม่กล้าจะทำอะไรไม่ได้มาก

กล้าคือต้องกล้า ยืนหยัด เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นถูกต้อง กล้ายืนหยัดในสิ่งดีที่ตัวเองเชื่อ
คนดีคือคนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม นั่นคือการตัดสินใจเป็นคนดี
เสียสละตัวเอง ไม่ใช่เพียงแค่เงิน แต่หมายถึงเวลา และทุกสิ่งรวมถึงเสียชีวิต
แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องคิดเพื่อให้ชีวิตของเราทำประโยชน์ได้สูงสุด

ไม่รับผลประโยชน์ส่วนตน
เสียสละสิ่งที่ตัวเองมี และพึงได้ แต่ยอมเสียสละได้

**เรามีทรัพยากรชีวิตจำกัด เราจึงต้องเลือกใช้อย่างชาญฉลาด แต่ใส่ในสิ่งที่มีคุณค่า**
ตัวอย่าง ถ้าเรามีน้ำปลา 1 ขวดเทลงในแม่น้ำเพื่อให้น้ำเค็มคงไม่คุ้ม
ดังนั้นคนอารยะต้องคิด และ
พร้อมจะใส่ ถ้ารู้ว่าใส่ถูกที่ถูกทาง

คนอารยะ...ไม่ใช่เลือก ระหว่างสิ่งที่ดีกับไม่ดี
แต่เป็นการเลือกระหว่างสิ่งดี/ สิ่งที่ดีกว่า/ และสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด
ไม่ใช่การให้ ด้วยการถูกกดดัน แต่หมายถึงการคิดตลอดเวลาและใช้ให้ถูกว่าจะให้เพื่อประโยชน์สูงสุด

คนอารยะเป็นคนที่เงินซื้อไม่ได้รวมถึงเกียรติยศศักดิ์ศรีก็ซื้อคนอารยะไม่ได้

การบริหารเวลาให้เกิดคุณค่า
ถ้าสิ่งมีคนอื่นทำได้ให้เขาทำ เพื่อเราจะไปทำอย่างอื่นที่ยังไม่มีใครทำ
เพื่อเราทำให้ได้มากที่สุด และทำให้เราไม่คิดกับดักอะไรเลย ทำให้เรามีเสรีภาพสูงสุด
"คนอารยะต้องไม่ขี้เกียจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ใฝ่พัฒนาศักยภาพไม่กลัวที่จะเป็นคนเก่ง เพื่อเราจะใช้ประโยชน์"

การคิดเป็นรากฐานทำให้เกิดความรู้ ความรู้ทำให้เกิดปัญญา

คนอารยะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่ดี เก่ง กล้า

คนดี = คนอื่นก่อน (Other first)
คนเก่ง = ทำได้แน่ ( Can do, Yes! )
คนกล้า = กล้ายืนหยัด (Firm Stance)

- ถ้าเราเห็นแก่คนอื่นก่อน >> กุญแจสำคัญของการเป็นคนดี
- คนเก่ง >>เราต้องรู้ว่าเราเก่งอะไร เรามีความสามารถอะไร แต่ไม่ใช่การอวกตัวหรือถล่มตัว หรือแม้แต่การขยายศักยภาพเพื่ออุดรอยโหว่
- เราต้องสร้างความสามารถและสั่งสมความเชื่อมั่น
คนอารยะควรเก่งเรื่องอะไร
>>เราควรเก่งที่สุดในเรื่องที่เราเก่งได้
เราต้องเชื่อมั่นว่าเรามีเอกลักษณ์และไม่เหมือนใครเอาความเก่งของเรามาตั้งขึ้น

1.เป็นเลิศ ในสิ่งที่ทำ >>เก่งงาน/ เก่งคน/ เก่งสังคม

1.1 เก่งงาน
>>ต้องมีความคิด - คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์ คิดกลยุทธ์ (คิด 10 มิติ)
>>ต้องมีความรู้ - รู้ลึก(ไม่เหมือนนกแก้วนกขุนทอง) / รู้กว้าง/ รู้ไกล
>>ต้องมีความสามารถ - มีทักษะที่จำเป็น มีศักยภาพที่พัฒนาได้
>>ต้องมีความรอบรู้

1.2 เก่งคน
>>คนอารยะต้องก้าวขึ้นเป็น "แกนนำ" ของสังคมจำเป็นต้อง "เก่งคน"
- เก่งในการ "นำใจคน" >>ให้เห็นร่วมกันได้
- เก่งในการ "นำทางคน" คบเราแล้วก้าวสูงขึ้น สร้างคนได้

1.3 เก่งสังคม
>>หมายถึง ความสามารถในการอยู่นร่วมกับคนอื่นอย่างสร้างสรรค์
(ความรู้/ ปัญญา/ เข้าใจ)
เห็นใจคนแต่ไม่ใช่เห็นด้วยในสิ่งที่ผิด
- เก่งในการ "เปิดใจ" เพื่อเข้าใจ
//ยอมรับและเคารพความแตกต่าง
//มีใจกว้าง ปราศจากอคติ
//เป็น "นักสร้างเอกภาพ" ไม่ใช่ "นักสร้างความแตกแยก"
เข้ากับคนอื่นได้ง่าย เก่งในการ "ปรับตัว" เพื่ออยู่ร่วม
//ปรับตัวเข้ากับความทันสมัย
//เปลี่ยนแปลง พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
//รู้จักประยุกต์ใช้

- เก่งในการ "ให้สิ่งดี" เพื่อสังคม
//เก่งในการทำดีเพื่อสังคม
//เป็นคนที่มีจิตสาธารณะ


2. เราจะพัฒนาตนเอง ให้เป็น "คนเก่ง" ได้อย่างไร

2.1 ค้นหาศักยภาพของตนเอง
(อะไรที่ค้นพบว่าเรามีศักยภาพอะไร ก็ให้มั่นใจในสิ่งที่มี)พัฒนาตามโมเดลสมรรถนะ KSL31220
ลงแรงฝึกฝน ศักยภาพ หมายถึง คุณสมบัติที่มีแฝงอยู่

สภาพคนในวันนี้ ประกอบด้วย
- ส่วนที่พัฒนาแล้วจากศักยภาพแต่กำเนิด
- ส่วนที่พัฒนาจากสิ่งที่ไม่มีศักยภาพแต่กำเนิด
- ส่วนของศักยภาพแต่กำเนิด ซึ่งยังไม่ถูกพัฒนา
วิธีที่จะรู้ว่าเรามีศักยภาพอะไร
- สังเกต ความชอบ
- คนอื่นบอกเรา

2.2 พัฒนา
3K - ความรู้ (Knowledge) 3 มิติแห่งความรู้
K1 - รู้ลึก >>รู้ให้ลึก รู้ให้จริง
K2- รู้กว้าง
K3- รู้ไกล ทำให้เราประเมินแล้วไม่พลาด
???ลองตั้งคำถามกับตัวเอง วันนี้มีเรื่องไหนที่เราต้องเรียนรู้เพิ่มเติม

12S - ทักษะ 12 หมวดทักษะ
20L - ลักษณะชีวิต (Life Characteristic) 20 ลักษณะ
(รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ใน หนังสือ KSL31220)

2.3 ฝึกฝนอย่างหนัก และอย่างมีปัญญา
ลุกขึ้นมาและใช้ความพยายาม
**ทำอย่างจริงจัง>>ไม่มีอะไรทำไม่ได้ในโลกใบนี้ถ้าจะทำ**

**ความสำเร็จของคนเก่งส่วนใหญ่
อะไรที่จะเป็นทักษะ คือการฝึกซ้อมอย่างหนักและต่อเนื่อง 10000 ชม.

"จงพัฒนา พรแสวง
จนสำแดงเป็นพรสวรรค์"

ความปรารถนาเพียงใดก็ไร้ค่า หากปราศจากคำว่า "ลงมือทำ"

อารยะแอนด้า อักษรลิขิต
สมัชชาสยามอารยะรวมศูนย์ 24/01/2017

Comments

comments