เกี่ยวกับเรา

title

จุดเริ่มต้นและการถือกำเนิด ของสมัชชาสยามอารยะ

 “ประเทศจะเป็นอารยะประเทศได้นั้นต้องเริ่มจากคนในประเทศที่เป็นบุคคลที่มีความอารยะอย่างแท้จริงหรือเรียกได้ว่าเป็นอารยะชนเสียก่อน”

คือคำกล่าวของผู้ที่มีแนวคิดและอุดมการณ์ที่มีความมุ่งมั่นอยากจะเห็นชาติบ้านเมืองเกิดการพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ศ.ดร.เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์ หรือ ดร.แดน คำกล่าวข้างต้นสะท้อนความเชื่อว่าประเทศจะพัฒนาได้นั้นต้องเริ่มต้นจากคนในประเทศที่ถูกพัฒนา

ดร.แดน ได้กล่าวถึงวันแห่งการเริ่มต้นอุดมการณ์ของสยามอารยะอย่างเป็นทางการว่า

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ผมขอแถลงว่าเป็นวันถือกำเนิดอย่างเป็นทางการของสมัชชาสยามอารยะซึ่งมีมาอย่างไม่เป็นทางการเป็นเวลานานนับสิบปี สยามอารยะเป็นการรวมตัวของคนกลุ่มเล็กๆ ที่มีอุดมการณ์ร่วมกันคือ ปรารถนามีส่วนร่วมสร้างชาติให้เป็นอารยประเทศมีความเจริญก้าวหน้าครบถ้วนทุกด้านทั้งทางกายภาพ และจิตภาพ ทั้งทางด้านวัตถุและด้านจิตใจ โดยมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการสร้างชาติบ้านเมืองของเราแบบถูกวิธี”

img_7895

ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการรวมตัวเพื่อพัฒนาชาติบ้านเมืองให้มีความเป็นอารยะ

มีการพบปะปรึกษาหารือกันในเรื่องแนวคิดและการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ การระดมความคิดในการออกแบบนโยบาย เพื่อการพัฒนาในด้านต่างๆของประเทศอีกทั้งมีการพูดคุยเสวนาเรื่องหลักการอุดมการณ์ในการสร้างชาติบ้านเมืองภายใต้แนวคิดของสยามอารยะ โดยกำหนดให้มีการประชุมขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ เริ่มต้นจากกลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์ รวมกลุ่มกันตามความสนใจ ในเรื่องที่ตนเองมีความถนัดหรือมีความสามารถ และอย่างมีส่วนร่วมซึ่งเรียกการรวมกลุ่มนี้ว่า “การประชุมสมัชชาสยามอารยะ” เริ่มต้นการประชุมสมัชชาอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุม วิทยาลัยรัชต์ภาคย์ ซอยรามคำแหง 21 และมีจัดการประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกสัปดาห์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99

แต่การพัฒนาประเทศไม่มีวันทำได้สำเร็จหากทำด้วยตัวคนเดียว

     จึงได้เกิดแนวคิดการรวมกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์สอดคล้องตรงกับท่าน เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยอาศัยแนวคิด ปรัชญา ความรู้ ประสบการณ์ทั้งชีวิตของท่านที่ได้เรียนรู้ผ่านการทำงานมาหลายประเทศทั่วโลก แปรเปลี่ยนเป็นหลักคิดหลักปรัชญาหลักปฏิบัติในการสร้างชาติให้เป็นประเทศอารยะภายใต้อุดมการณ์ที่ใช้ชื่อว่า “สยามอารยะ” โดยเริ่มจากรวบรวมกลุ่มบุคคล เช่นลูกศิษย์ เพื่อน ทีมงานที่เคยทำงานร่วมกันที่พร้อมจะเสียสละทุ่มเทชีวิตในการสร้างชาติให้อารยะยินยอมพร้อมใจอุทิศตัวอยู่เพื่อปวงประชาตามหลักการอุดมการณ์ของสยามอารยะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยของเราที่ได้มีบุคคลที่ถือว่าเป็นต้นแบบและรวบรวมบุคคลต่างๆในทุกสาขาอาชีพทุกเพศทุกวัยร่วมกันเรียกร้องให้เห็นแก่สังคมและประเทศชาติ มาช่วยกันพัฒนาชาติแบบมีทิศทาง

2